Smallroom โมเดลลิ่งด้านเพลงที่ขาดสื่อออนไลน์ไม่ได้ | Sanook Music

Smallroom โมเดลลิ่งด้านเพลงที่ขาดสื่อออนไลน์ไม่ได้

Smallroom โมเดลลิ่งด้านเพลงที่ขาดสื่อออนไลน์ไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สื่อดิจิตอล เป็นช่องทางในการโปรโมตศิลปิน ลดต้นทุนสำหรับค่ายเพลงเล็กๆ วันนี้ Smallroom จะปรับตัวกับเทคโนโลยีที่เข้ามาสู่วงการเพลงได้อย่างไร ลองฟังคำตอบจากเจ้าของค่าย รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์

แบ่งค่ายออกเป็น 2 ยุค
รุ่งโรจน์ เล่าเรื่องราว Smallroom ให้ฟังว่า .....แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือช่วง 5 ปีแรก ของการก่อตั้งค่าย เกิดจากเพื่อนๆ ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน โดยเน้นการทำเพลงโฆษณาเป็นหลัก เพราะทุกคนมีงานประจำทำอยู่ก่อนแล้ว ...รายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำเพลงโฆษณา เพราะศิลปินในค่ายยุคแรกๆ ส่วนใหญ่ทำงานประจำ ซึ่งจะไม่มีเวลาไปแสดงคอนเสิร์ตตามที่ต่างๆมากนัก รุ่งโรจน์ ชี้แจง



ต่อมา 6 ปีหลัง วงดนตรีหลายวงที่เข้ามา เป็นมืออาชีพมากขึ้น จนทำให้ต้องหยุดงานเพลงโฆษณา เพื่อมาทำค่ายเพลงอย่างจริงจัง รวมทั้งเพลงในยุคแรกจะเน้นไปที่เฉพาะกลุ่ม แต่พอมายุคหลังตัวเพลงจะผสมป็อปมากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงคนฟังจำนวนมาก

ขายโมเดลลิ่งด้านเพลง
การเข้าสู่ยุคดิจิตอล คนฟังเพลงนิยมการดาวน์โหลดเพลงมากกว่าการซื้อแผ่นซีดีสักแผ่น เช่นเดียวกัน ทาง Smallroom ผลิตแผ่นซีดีเพลงน้อยลงจากเดิมประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์......การขายเพลงแบบแผ่นซีดีหรือดิจิตอลดาวน์โหลด รายได้จะเข้าค่ายเป็นหลักมากกว่าที่ศิลปินได้รับ แต่ศิลปินจะได้จากโชว์ พรีเซ็นเตอร์ และงานแสดง เพราะปัจจุบัน Smallroom เป็นเหมือนโมเดลลิ่งด้านเพลง นอกจากขายเพลงแล้วก็มีตัวโปรดักส์เป็นหลัก ตรงนี้กลายเป็นรายได้ที่เสนับสนุนค่ายจริงๆ รุ่งโรจน์ อธิบาย

2 ช่องทางออนไลน์
หากเข้าไปในเฟซบุ๊คของ Smallroom จะเห็นข่าวสารความเคลื่อนไหวของค่ายที่อัพเดตอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเรามีคนดูแลทั้งหมด 10 คน คอยทำหน้าที่สลับกันอัพเดตข้อมูล และทักทายเหล่าแฟนคลับ
รุ่งโรจน์ แสดงความเห็นว่า .....การมีคนดูแลหน้าแฟนเพจถึง 10 คน อาจไม่ใช่วิธีการที่ดีเท่าไร ซึ่งเราค่อนข้างซีเรียสกับเรื่องนี้พอสมควรว่า จุดสมดุลที่สุดควรจะมีคนดูแลหลายคนหรือคนเดียวดีกว่า และข้อปัญหานี้ต้องเรียนรู้กันไป เพราะค่ายเพลงมีความคืบหน้าทุกวัน มีวงที่ต้องทำอีกหลายวง ถ้ามานั่งคุยกันก็คงไม่ได้ทำงาน

นอกจากใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางสื่อสารแล้ว ยังมีเว็บไซต์ของค่าย ซึ่งรุ่งโรจน์กำลังคิดปรับปรุงเพื่อให้เว็บไซต์ของค่ายเพลงมีความเท่ห์อย่างที่ควรจะเป็น เหมาะกับผู้ใช้และมีความทันสมัยใน 5 ปีข้างหน้ารุ่งโรจน์ เผยว่า ....ไม่ได้เล่นเฟชบุ๊กเป็นประจำ แต่มีไว้เพื่อศึกษาและคอยสังเกตว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งกระตุ้นให้ศิลปินในค่ายคอยอัพเดต และติดต่อสื่อสารกับแฟนเพลงผ่านเฟซบุ๊กบ้าง

.....บางครั้งศิลปินสนุกสนานจนลืมหน้าที่ เราต้องคอยกระตุ้นเตือนว่าการใช้ Social Network เป็นสิ่งหนึ่งในการโชว์ตัวเช่นกัน ถ้าเริ่มเล่นเฟซบุ๊คส่วนตัวมากไปหน่อย และแยกไม่ออกว่าอันไหนคือ ส่วนตัวกับสาธารณะ เพราะสิ่งที่ศิลปินทำในนี้คือ ทำ Commercial Art ดังนั้น การที่ศิลปินบางคนเล่นแต่ของตัวเองที่ไม่ใช่ของวงก็ถือว่าไม่ถูกแล้ว รุ่งโรจน์ กล่าว

จากการที่วง Tattoo Color ได้ทำ Tattoo TV ลง YouTube เพราะมีเทคโนโลยีกล้องที่ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ และใช้โปรแกรมตัดต่อ iMovies ประกอบกับคาแร็กเตอร์ของวงที่มีมุขตลกอยู่ตลอด รุ่งโรจน์ มองว่า .....สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือสื่อ ถ้าสื่อไม่ได้เยอะเท่ากับเพลงที่ปล่อยออกมาก็จะเกิดเป็นคอขวด เพราะไม่มีประโยชน์ถ้ามีวงดนตรีเยอะ แต่ไปโลดแล่นแค่ใน YouTube ดังนั้น ถ้าสื่อในประเทศมีความหลากหลายขึ้น ก็กระจายคอนเทนต์ได้ดีขึ้น วงการเพลงจะยังไงก็แล้วแต่โปรดักส์ต้องดีก่อน สิ่งที่ตามมาคือ สื่อที่ไม่เป็นคอขวด


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook