ปัญหาโลกแตก เพลงไทยกำลังจะตายอย่างช้าๆ | Sanook Music

ปัญหาโลกแตก เพลงไทยกำลังจะตายอย่างช้าๆ

ปัญหาโลกแตก เพลงไทยกำลังจะตายอย่างช้าๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


ทุกครั้งที่เราดาวน์โหลดริงแบ๊คโทน หรือ โหลดเพลงผ่านทางผู้ให้บริการมือถือมีเพียง 40-50% เท่านั้นที่ที่จ่ายให้กับศิลปินและค่ายเพลง ในขณะที่มาตรฐานในต่างประเทศผู้ให้บริการจะเก็บเงินจากส่วนนี้เพียง 9-13% เท่านั้น

ปัญหาใหญ่ที่สำคัญอย่างหนึ่งในวงการเพลงตอนนี้ก็คือการล่มสลายของ ซีดี ซึ่งเกิดขึ้นให้เห็นภาพชัดมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ในกรณีของการปิดตัวของร้านขายซีดีขนาดใหญ่อย่าง ซีดีแวร์เฮ้าส์ และ อีเอ็มไอ ในประเทศไทย

แน่นอนว่าใครๆ ก็พูดกันได้ ว่าแนวรบใหม่ของธุรกิจเพลงอยู่บนโลกดิจิตอล เนื่องจากในต่างประเทศนั้น ยอดขายของดิจิตอลเข้ามาแทนยอดขายแบบซีดี 80-90% แถมยังมีอัลบั้มที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำทั้งๆ ที่ขายแต่แบบดิจิตอลเท่านั้นแล้วซึ่งในเมืองไทยตัวเลขเท่าที่มีการสำรวจกันเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 70-80% เหมือนกัน

แต่ปัญหาก็คือรายได้ของประเทศไทยที่ได้จริงๆ นั้นถ้าเทียบกับแบบการขายซีดีแล้ว นับว่าน้อยมากจนทดแทนกันไม่ได้

ปัญหาก็คือปัจจุบัน ทุกครั้งที่เราดาวน์โหลด ริงแบ๊คโทน หรือ โหลดเพลง ผ่านทางผู้ให้บริการมือถือมีเพียง 40-50% เท่านั้นที่ที่จ่ายให้กับศิลปินและค่ายเพลง ในขณะที่มาตรฐานในต่างประเทศผู้ให้บริการจะเก็บเงินจากส่วนนี้เพียง 9-13% เท่านั้น ถ้าค่าดาวน์โหลด 40 บาท ศิลปินและค่ายเพลงไทยจะได้อย่างมากก็ 15-20 บาทเท่านั้น ในขณะที่ในต่างประเทศจะได้อย่างน้อยๆ ก็ 36 บาท

หัวข้อที่ว่านี้ก็มีการพูดกันในประเทศไทยตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว แต่น่าแปลกใจว่าจนบัดนี้ทุกอย่างยังเหมือนเดิม

ตี่-กฤช ทอมมัส ผู้บริหารค่ายธุรกิจเพลงของ บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ บอกว่า ทางแกรมมี่เองกำลังอยู่ในขั้นตอนเจรจากับผู้ให้บริการมือถืออยู่เหมือนกัน เพราะว่าเป็นผู้ขายคอนเทนท์รายใหญ่ที่สุด ขณะนี้ซึ่งไม่มีความจำเป็นจะต้องไปรวมกับค่ายเล็กถ้าแกรมมี่ เจรจาสำเร็จบริษัทอื่นๆ ก็จะได้ใช้มาตราฐานนี้ไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารค่ายเพลงผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการมานานท่านหนึ่งที่ไม่ประสงค์ออกนาม ก็ให้ความเห็นว่าถ้าไม่มีการรวมตัวกันยังไงก็ไม่มีทางสำเร็จ

สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือตลาดเพลงลูกทุ่งเลี้ยงเพลง ป๊อปซึ่งในทางธุรกิจต้องถือว่าตลาดนี้ตายไปแล้ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเป็นแบบนี้ได้นานเท่าไร

"ปัญหาก็คือประเทศไทยมีค่ายใหญ่ 2 ค่าย พอคุยกับค่ายนี้ขอขึ้นราคาบริษัทมือถือก็จะเอางบฯ พิเศษไปสนับสนุนอีกเจ้าทีละ 20-30 ล้านบาท พอค่ายนี้จะขึ้นบ้างก็เอางบฯ ตรงนี้ไปอีกค่าย ซึ่งมันก็ยื้ออย่างนี้มาหลายปีแล้วเลยเจรจากันไม่ได้ซักที"

อย่างไรก็ตาม แต่ผู้บริหารท่านดังกล่าวบอกว่า เท่าที่ทราบตอนนี้ทั้งสองค่ายก็จับมือกันอย่างลับๆ ว่าจะกดดันบริษัทผู้ให้บริการมือถือ ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะอดทนกันได้ขนาดไหน

"ริงแบ๊คโทนเนี่ย แต่ว่าผมว่ามันก็เหมือนเซ็กซ์คือไม่ได้จำเป็นกับชีวิตไม่มีก็อยู่ได้ เพียงแต่ว่าคุณ (ผู้บริโภค) จะยอมไม่มีได้ไหมล่ะ" ผู้บริหารท่านนั้นสรุป

ถ้าอย่างนั้นศิลปินที่อยู่ตรงกลางของเรื่องทั้งหมดจะไม่แย่ หรือเพราะในขณะที่ค่ายเพลงในไทยนั้นต่างพยายามผันตัวไปเป็นเป็นบริษัทสื่อและได้เงินจากช่องทางอื่นๆ ศิลปินยังได้จากส่วนแบ่งของยอดขาย (ซึ่งไม่ค่อยจะมี) และรายได้จากการโชว์เท่านั้นเอง

แต่ถ้าเป็นศิลปินจริงๆ ละก็ไม่ต้องกลัวไป พอล แฮมเชียร์ หรือ บี มือกีตาร์และมันสมองของ วงฟูตอง บอกว่า อย่าไปตกใจว่าเพลงในปัจจุบันมันจะขายไม่ได้ และไม่มีราคาเพราะว่าปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีทำให้เพลงกลายเป็นของฟรีๆ พอๆ กับอากาศ ไม่มีใครจ่ายเงิ่นเพื่อเพลงอีกแล้วในเมื่อสามารถดาวน์โหลดทุกอย่างฟรีๆ ได้จากอินเตอร์เน็ต แต่ทุกคนที่จ่ายก็จ่ายเงินเพื่อศิลปินที่ตัวเองรักต่างหาก

"แฟนเพลงจริงๆ จะจ่ายเงินเพื่อศิลปิน เพื่อของพรีเมียมของศิลปิน อย่างเสื้อ, กระเป๋า, บัตรคอนเสิร์ต ฯลฯ อะไรก็ได้ แต่ไม่ใช่ซีดีแน่ และที่สุดบริษัทเพลงจะตาย" บีตอบพลางส่งรอยยิ้มเย็นๆ

แน่นอนว่าเอาเข้าจริงไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ แต่ในประเทศไทยเองก็มีศิลปินประเภทไม่สังกัดค่ายเกิดขึ้นเยอะอย่าง บอย โกสิยพงษ์, โอม-ชาตรี คงสุวรรณ ฯลฯ ซึ่งใช้ช่องทางอื่นนอกจากค่ายเพลงเป็นคนจัดจำหน่ายผลงาน ผ่านทางบริษัทสินค้าและผู้ให้บริการมือถือต่างๆ แถม ฟูตอง เองก็กำลังจะออกอัลบั้มที่ 3 โดยมีบริษัทผู้ผลิตสินค้าในสิงคโปร์เป็นผู้ออกทุนให้ แต่ก็เป็นปริมาณน้อยมากๆ

ฉะนั้นมันอาจจะไม่สำคัญเลย ถ้าค่ายเพลงจะไม่ยอมรวมตัวกันเพื่อต่อรองกับบริษัทผู้ให้บริการมือถืออยู่แบบนี้

"เพราะผลสุดท้ายอาจจะไม่เหลือทางถอยเลยก็ได้"

ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook